คุณธรรมอันดับแรกที่ควรปลูกฝัง คือ ความกตัญญู ซึ่งควรจะได้แสดงออกทั้ง ทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ ที่แสดงออกมาด้วยความดีงาม แต่สิ่งเหล่านี้ กำลังถูกทำลาย ด้วย ความ รีบเร่ง จากกระแสวัตถุนิยม และบริโภคนิยม ที่ไม่ได้คำนึงถึงวัฒนธรรมทางจิตใจ หากคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจไม่มั่นคง สิ่งที่แสดงออกมาจากพฤติกรรมของคน ก็ล้วนเป็นสิ่งจอมปลอมทั้งสิ้น
การแสดงออกทางกาย วาจา ใจ ที่มีคุณธรรมเป็นที่ตั้งจึงมีส่วนสำคัญในการกล่อมเกลา จิตใจ ให้มีความอ่อนโยน สุภาพ นอบน้อม สุขุม รอบคอบ เช่น การกราบไหว้พระแบบเบญจางคประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด การวางมือ การยกมือขึ้น เพื่อให้สติอยู่กับมือ พนมมือที่น่าอกในท่าอัญชลี เป็นการสำรวมใจออกจากปัญหา ที่ว้าวุ่น การยกมือจรดบริเวณหว่างคิ้วในท่าวันทา เป็นการสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ มีความแน่วแน่มั่นคงใน จิตใจ การก้มกราบ ท่าอภิวาท เป็นการปล่อยใจให้ว่างลง สยบยอมทั้งกายและใจให้กับความดี เป็นการลดอัตตา ความยึดมั่น ถือมั่นในตัวเอง ซึ่งท่าทีเหล่านี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาสภาพจิตใจให้ดีงาม การปลูกฝังให้นักศึกษารู้จักพึ่งตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นคนดี มีวินัย คือ การปลูกฝังให้นักศึกษาได้มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง และ รู้จักคุณค่าของตัวเอง ไม่มีชนชาติใดในโลกที่มีความเจริญ งอกงาม มั่นคงอยู่ได้ เพราะการรอรับการช่วยเหลือ ของผู้อื่น โดยไม่พึ่งตนเอง
ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน บนพื้นฐาน อุดมการณ์ชีวิต งาน
คือ ชีวิต ชีวิต คืองาน บันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุข เมื่อ ทำงาน
ของดีต้องมีแบบ แบบที่ดี ต้องมีระเบียบ ระเบียบที่ดี ต้องมีวินัย คนที่มีวินัย คือ ...
- เคารพตนเอง - เคารพผู้อื่น
- เคารพเวลา - เคารพกติกา
- เคารพสถานที่
บุญ คือ การละกิเลส
คน + ความดี (คน มี ความดี) = สุข , เจริญ
คน + บุญ (คน มี บุญ ) = สุข , เจริญ
คน มี ความดี = คน มี บุญ ( สุข , เจริญ )
ความดี = บุญ
คุณธรรม 4 ประการ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
1. การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตนเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
2. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติ อยู่ใน ความสัตย์ ความดี
3. การอดทน อดกลั้น อดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์ สุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
4. การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และ รู้จักเสียสละประโยชน์ ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ ส่วนใหญ่ของ บ้านเมือง
ที่มา :http://www.jariyatam.com/moral-cultivation
ที่มา :http://www.jariyatam.com/moral-cultivation
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น